วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

ประวัติบัญชี

วิวัฒนาการทางบัญชี
การจดบันทึกรายการทางการบัญชีเกิดขึ้นประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว ซึ่งเกิดขึ้นตามความจำเป็น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบจำนวน มากกว่าต้องการหาผลกำไร และมีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ เริ่มจาก
สมัยอียิปต์ : จะบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินต่าง ๆ ในท้องพระคลัง
สมัยบาบิโลเนียน บันทึกเกี่ยวกับเงินและทองคำที่ได้รับ วันที่รับ ชื่อผู้รับ และชื่อผู้ให้
สมัยกรีก พัฒนาจากการบันทึกข้อมูลรับ – จ่าย ประจำงวด จนกระทั่งหา
ยอดคงเหลือต้นงวดและปลายงวด
- สมัยโรมัน จะบันทึก 2 ด้าน โดยบันทึกว่ารายการที่เกิดขึ้นนั้นรับมาจากใคร และจ่ายให้ใครในจำนวนเดียวกัน
การจดบันทึกข้อมูลทางการบัญชี รวมทั้งวิวัฒนาการต่าง ๆ จากจุดเริ่มต้น ที่ค้นพบหลักฐานทางการบัญชี จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 13 เกิดจากความจำเป็น 3 ประการ คือ
การลงทุนในการค้า ซึ่งเกิดขึ้นในมัยบาบิโลเนียนเมื่อ 4,000 ปีมาแล้ว ผู้ลงทุนมักลงทุนในรูปเจ้าของคนเดียว โดยหวังกำไรเป็นผลตอบแทน
สภาพทางเศรษฐกิจ เริ่มมีการประกอบธุรกิจทางการค้าแทนที่การแลกเปลี่ยนในอดีต อย่างไรก็ดีการบันทึกบัญชีในยุคนี้บันทึกแต่เรื่องเกี่ยวกับสินค้า วัตถุดิบ ทรัพย์สิน โดยไม่สนใจค่าแรง เนื่องจากการประกอบธุรกิจนั้นจะใช้แรงงานของเจ้าของบุคคลในครอบครัว และแรงงานทาส
การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี เกิดการพัฒนาทางด้านคณิตศาสตร์ การนับจำนวนวัน จำนวนเลข การคิดค้นตัวเลขอารบิกแทนเลขโรมัน การใช้เงินตราเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยน ซึ่งเริ่มมีการใช้เงินเหรียญตั้งแต่ศตวรรษที่ 3
ประวัติของทฤษฎีทางการบัญชี
ทฤษฎีการบัญชีก่อกำเนินขึ้นในปลายศตวรรษที่ 13 เมื่อเริ่มใช้หลักการบัญชีคู่ ( Double Entry Book–Keeping ) หลักฐานของการจดบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีคู่ เล่มแรกค้นพบที่เมืองฟลอเรนซ์ ในระหว่างปี ค.ศ. 1296-1300 แต่หลักฐานที่แสดงการบันทึกหลักฐานบัญชีคู่ที่สมบูรณ์ชุดแรกพบที่เมืองเจนัว ในปี ค.ศ. 1340 ในศตวรรษนี้ประเทศอิตาลีเจริญรุ่งเรืองในด้านการค้าและเป็นศูนย์กลางทางการค้า ซึ่งทำให้เกิดความจำเป็นในด้านการบัญชี จนกระทั่งพัฒนาการจดบันทึกรายการบัญชีมาเป็นหลักการบัญชีคู่
ต้นศตวรรษที่ 15 อิตาลีเริ่มเสื่อมอำนาจลง ศูนย์กลางทางดการค้าเปลี่ยนไปยังประเทศอื่นใน ยุโรป เช่น สเปน โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์ ดังนั้น ความเสี่ยงภัยในการค้าลดลงจึงเปลี่ยนเป้าหมายทางการบัญชีมาเป็นการหาผลการดำเนินงานเมื่อวันสิ้นงวดแทน
ในศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ทฤษฎีทางการบัญชีได้วิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็วเนื่องจากผลกระทบจากการปฏวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้ความต้องการทางการบัญชีมรมากขึ้น และวัตถุประสงค์ของข้อมูลทางการบัญชีเปลี่ยนไป และจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น เดิมผู้ที่จะใช้ข้อมูลทางการบัญชีคือผู้บริหาร เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไปทำให้มีผู้ต้องการใช้ข้อมูลทางการบัญชีมากขึ้น ทำให้รูปแบบวิธีการบัญชีมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
ประวัติทางการบัญชีในประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ก่อให้เกิดความตื่นตัวทางเศรษฐกิจ มีการออกประมวลรัษฏากรจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล การจัดเก็บภาษีเงินได้ของบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดเก็บจากยอดกำไรสุทธิในรอบปี ฉะนั้นจึงได้มีการตราพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 25482 ขึ้นมาบังคับใช้เป็นครั้งแรก
ปี พ.ศ. 2475 มีคนไทยผู้สำเร็จวิชาการบัญชีมาจากต่างประเทศเพียง 2-3 ท่าน ได้แก่ พระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ) และหลวงดำริอิศรานุวรรต (ม.ล.ดำริ อิศรางกูรฯ) ผู้สำเร็จรุ่นต่อมาได้แก่ อาจารย์จรูญ วิมลศิริ อาจารย์ห้อง บุคนาค อาจารย์ยุกต์ ณ ถลาง อาจารย์อาภรณ์ กฤษณามระ ฯลฯ นักบัญชีสมัยนั้นรวมกลุ่มกันอยู่ ณ สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งอยู่ที่ศาลาลูกขุนใน ภายในพระบรมมหาราชวัง และต่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมอาชีพการสอบบัญชีสาธารณะ และจัดตั้งสมาคมวิชาชีพดังเช่นในประเทศที่เจริญแล้ว
ต่อมา ปีพุทธศักราช 2482 ได้มีการตราพระราชบัญญัติการบัญชีขึ้น เนื่องจาก ผู้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือบุคคลธรรมดา จัดทำบัญชีไม่ได้มาตรฐานหรือไม่จัดทำบัญชี ซึ่งพระราชบัญญัตินี้ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจที่กำหนดไว้ในกฎหมายต้องจัดทำบัญชีตามกฎหมาย รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการลงบัญชีไว้อย่างถูกต้องด้วย
เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการบัญชีฉบับเดิม (พ.ศ. 2482) มีข้อบกพร่องบางประการ จึงได้ ยกเลิกกฎหมายฉบับนี้ แล้วออกกฎหมายใหม่ในรูปประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2515
ต่อมาในปี 2543 ได้มีการประกาศใช้บังคับกฎหมายควบคุมการจัดทำบัญชีฉบับใหม่ขึ้น คือ พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ซึ่งกำหนดให้บังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 117 ตอนที่ 41 ก วันที่ 12 พฤษภาคม 2543 คือวันที่ 10 สิงหาคม 2543 เป็นต้นไป
สถาบันวิชาชีพทางการบัญชี
คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี เรียกย่อว่า ก.บช. จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี ทำหน้าที่ดูแลและแต่งตั้งผู้สอบบัญชี รวมถึงควบคุมการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีให้ได้มาตรฐาน
สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย เรียกย่อว่า ส.บช. มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชีให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน